ประวัติกรมประชาสัมพันธ์
 
 
 
 

 กรมประชาสัมพันธ์

      เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลกับประชาชน ตลอดจนระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยวิธีการให้ข่าวสาร ความรู้ข้อเท็จจริงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเสนอรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่โน้มน้าว ชักจูงประชาชน เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือแก่รัฐบาลและหน่วยราชการต่าง ๆ ตามแนวทางที่ถูกที่ควรในระบอบประชาธิปไตย โดยมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข นอกจากสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ ยังมีสำนักประชาสัมพันธ์เขต อีก 8 สำนัก ได้แก่ 1. สปข.1 ขอนแก่น , 2. สปข.2 อุบลราชธานี , 3. สปข.3เชียงใหม่ , 4. สปข.4 พิษณุโลก , 5. สปข.5 สุราษฎร์ธานี , 6. สปข.6 สงขลา , 7. สปข.7จันทบุรี และ , 8. สปข.8 กาญจนบุรี เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้เข้าถึงประชาชนในส่วนภูมิภาค ขณะเดียวกันกรมประชาสัมพันธ์ ยังมีสำนักงานประชาสัมพันธ์ครบทุกจังหวัด 

 

เริ่มก่อตั้งกรมประชาสัมพันธ์ 

      กรมประชาสัมพันธ์เริ่มก่อตั้งเมื่อ 3 พฤษภาคม 2476 ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศโดยมีชื่อในระยะเริ่มแรกว่า "กองโฆษณาการ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 และได้มีการพัฒนาผลงานมาเป็นลำดับโดยมีการปรับปรุงและขยายความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นทุก ๆ ระยะตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการสภาพของสังคม การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ตลอดจนนโยบายของรัฐบาลในแต่ละสมัย และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "กรมโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2483 หลังจากนั้น 12 ปี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2495

  • 3 พฤษภาคม 2476 ตั้งเป็น "กองการโฆษณา” โดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งกระทรวงและกรมมีฐานะเป็น กรมอิสระ ขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี
  • 9 ธันวาคม 2476 เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานโฆษณาการ” มีฐานะเป็นกรมหัวหน้าสำนักงาน เทียบเท่าอธิบดี แบ่งส่วนราชการเป็น 3 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม กองเผยแพร่ความรู้ และกองหนังสือพิมพ์ โดยทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือให้ข่าว และความรู้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรัฐบาล และประเทศโดยส่วนรวม
  • 31 มีนาคม 2481 โอนกิจการด้านช่าง และทะเบียนวิทยุ จากกรมไปรษณีย์ โทรเลขมาขึ้นกับสำนักงานโฆษณาการ และมีการตั้งโฆษณาการเขตขึ้นเป็นเขตแรกที่จังหวัดหนองคาย และที่จังหวัดพระตะบอง เป็นเขตที่สอง
  • 5 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมโฆษณาการ” และมีการตั้งกองการต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อติดต่อ และโฆษณาการเผยแพร่ข่าวสารต่อชาวต่างประเทศ
  • 4 สิงหาคม 2490 โอนสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวจากกระทรวงคมนาคมมาขึ้นกับกรมโฆษณาการ
  • 8 มีนาคม 2495 เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมประชาสัมพันธ์” เพื่อให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ในฐานะ แหล่งการเผยแพร่นโยบายและผลงานของรัฐบาล รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสาร การเมือง ศีลธรรม วัฒนธรรม ความรู้และความบันเทิง ตลอดจน เป็นสื่อกลาง สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่าง รัฐบาลกับประชาชนด้วย
  • พ.ศ. 2497 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยในต่างประเทศ” ขึ้นที่ลอนดอนและวอชิงตัน และได้จัดตั้ง กองประชาสัมพันธ์ภาคพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแห่งแรก ทำหน้าที่ เป็นหน่วยงาน สาขาของกรมประชาสัมพันธ์ในภาคใต้โดยเฉพาะ
  • 1 มกราคม 2503 โอนสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวไปรวมกับ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่และเพิ่มหน่วยงานระดับกอง คือ กองสำรวจประชามติ เพื่อสำรวจ และรับฟัง ความคิดเห็น ของประชาชน
  • พ.ศ.2503 ได้มีการติดตั้ง "กองประชาสัมพันธ์เขต" ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ลำปาง และสงขลา เพื่อเป็นหน่วยงานสาขาของกรมประชาสัมพันธ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ตอนล่าง
  • 20 ตุลาคม 2504 ตั้ง "โรงเรียนการประชาสัมพันธ์" ขึ้นในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่วิชาความรู้และส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการประชาสัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสาร
  • พ.ศ.2513 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยขึ้นที่พนมเปญประเทศเขมร" ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
  • 21 สิงหาคม 2518 มีพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการบริหารส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค ของกรมประชาสัมพันธ์ใหม่ โดยมีหน่วย ระดับกอง 15 หน่วยงาน
  • มิถุนายน 2521 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย"
  • 1 มกราคม 2522 ตั้ง "สำนักงานแถลงข่าวไทยที่เจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
  • 17 กันยายน 2526 ตั้ง "ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 สุราษฎร์ธานี" เพิ่มขึ้น 1 แห่ง
  • 7 สิงหาคม 2529 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ ออกเป็นราชการบริหารส่วนกลาง (20หน่วยงาน) และราชการบริหารส่วนภูมิภาค (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด) โดยเพิ่มหน่วยงานใหม่คือ กองงานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ, ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 5-8, และวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11
  • 26 มีนาคม 2540 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็นราชการบริหารส่วนกลาง 22 หน่วยงานและราชการบริหารส่วนภูมิภาค (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด 75 จังหวัด)

 

 ตรากรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

Copy code นี้ไปลงในเว็บไซต์ของท่าน

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

 

สวท.เพื่อการเรียนรู้และเตือนภัย ภาคใต้(ส.ฎ.)

 

ประวัติสถานี
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อการศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยงานภาครัฐ สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดำเนินการขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4(2520-2524)

เริ่มแรกใช้ชื่อว่าโครงการวิทยุเครือข่ายที่ 2 เพื่อการศึกษา ส่งกระจายเสียงในระบบ เอ.เอ็ม. ความถี่ 1,242 KHz และเริ่มส่งกระจายเสียงตั้งแต่เดือน สิงหาคม พ.ศ.2525โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุนและให้บริการด้านสื่อเพื่อการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนและให้บริการด้านสื่อเพื่อการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนโครงการจากเงินกู้ธนาคารโลก (World Bank)และเงินงบประมาณสมทบจากรัฐบาล

โดยมีข้อตกลงระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกรมประชาสัมพันธ์ กำหนดนโยบายและรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตรายการเพื่อการศึกษา โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบด้านการผลิตรายการเพื่อการศึกษา และกรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบด้านการส่งกระจายเสียง ใช้เงินงบประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 5 ก่อสร้างสถานีวิทยุกระจารเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อการศึกษา จำนวน 11 สถานี เพื่อให้ส่งกระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่เลขที่ 43 หมู่ 10  ต.วัดประดู่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ทำหน้าที่กระจายเสียงวิทยุ ในระบบ A.M. ความถี่ 1242 KHZ ด้วยกำลังส่ง 50 KW ออกอากาศตั้งแต่เวลา 05.00 – 24.00 น. รวม 19 ชั่วโมงต่อวัน มีพื้นที่กระจายเสียงครอบคลุมจังหวัด สุราษฎร์ธานี และรอยต่อบางส่วนของจังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จ.ชุมพร,ระนองนครศรีธรรมราช,พังงา และ     จ.กระบี่ มีอัตรากำลังข้าราชการจำนวน 3 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน พนักงานจ้างเหมาบริการ จำนวน 1 คน
          สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 บนที่ดินสาธารณประโยชน์ "ทุ่งหน้าเปลว” มีเนื้อที่ประมาณ 46 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา มีสิ่งปลูกสร้างที่ได้ขึ้นทะเบียน   ที่ราชพัสดุประเภทสิ่งปลูกสร้างของรัฐที่อาศัยปลูกอยู่บนที่ดินที่มิใช้ที่ราชพัสดุ
          28 กันยายน 2522 กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีหนังสือที่ สร.1607/11797 ลงวันที่ 28 กันยายน 2522 เรื่อง ขอใช้ที่ดินจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาในบริเวณ "ทุ่งหน้าเปลว” ต.วัดประดู่ อ.เมือง  จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 46 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา (เอกสารแนบ 1)
          12 พฤศจิกายน 2522 มีหนังสือจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ สฎ 15/4578 เรื่อง ขอใช้ที่ดินจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริเวณที่สาธารณประโยชน์ "ทุ่งหน้าเปลว” ในพื้นที่ หมู่ 2,3 ต.วัดประดู่  อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจากการสำรวจมีพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ของโรงเรียนวัดสุนทรนิวาส ที่จะแบ่งให้กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ประโยชน์จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา

ภารกิจ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นระบบเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติเพื่อการศึกษา (National Education Radio Network) ทั้งในระบบโรงเรียน (formal Education) นอกระบบโรงเรียน (Non- formal Education) และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ( Lifilong Education) อย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มวัย เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคนไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและแผ่นความรู้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ 2550-2554 มีบทบาทเป็นสื่อที่ให้บริการสาธารณะในการส่งกระจายเสียงรายการทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะ (Education Publie Radio) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่รับผิดชอบผลิตรายการและผลิตร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน ชุมชน และภาคศาสนา ในการดำเนินงานส่งกระจายเสียงรายการเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของคนทุกกลุ่มวัยเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน ในสัดส่วน ร้อยละ 30 ต่อ สัปดาห์ ของเวลาที่ใช้ในการส่งกระจายเสียงทั้งหมด โดยมีรูปแบบการผลิตรายการทั้งในและนอกสถานที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสุราษร์ธานี. และบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช, กระบี่ ,พังงา, ระนอง, ชุมพร, และประจวบคีรีขันธ์ โดย สวศ.สุราษฎร์ธานีทำการถ่ายทอดข่าวและรายการศึกษา จาก สวศ.ส่วนกลาง เป็นแม่ข่าย จำนวน 70% ต่อ 1 สัปดาห์และดำเนินงานผลิตรายการเอง ทั้งทางด้านข่าว, ความรู้, บันเทิงเชิงสาระ จำนวน 30% ต่อ 1 สัปดาห์

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar